โรค NCDs (non-communicable diseases)

โรค NCDs เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้

โรค NCDs คืออะไร



◉ โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลาแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ เช่น
➢ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
➢ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
➢ โรคหลอดเลือดหัวใจ
➢ โรคหลอดเลือดสมอง
➢ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
➢ โรคมะเร็งต่างๆ (Cancer)
➢ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
➢ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
➢ ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
➢ โรคไตเรื้อรัง
➢ โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
➢ โรคตับแข็ง
➢ โรคสมองเสื่อม

◉ สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

◉ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตที่เป็นตัวการก่อโรค NCDs เป็นสาเหตุของการป่วยได้มากกว่าคนอื่น ๆ เป็นต้นว่า...
➥ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง แป้ง น้ำตาล มากเกินความจำเป็น
➥การรับประทานอาหารปิ้งย่าง มากเกินความจำเป็น
➥รับประทานอาหารรสเค็มจัด หวานจัด
➥รับประทานผักและผลไม้น้อย
➥กิจกรรมในแต่ละวันน้อยไม่เพียงพอ
➥ทำงานนั่งโต๊ะตลอดทั้งวัน
➥การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก
➥สูบบุหรี่เป็นประจำ
➥ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
➥การมีความเครียดสูงสะสม ไม่สามารถจัดการความเครียดของตนเองได้
➥การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์

◉ การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น
➢ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
➢ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
➢ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
➢ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
➢ งดสูบบุหรี่
➢ พักผ่อนให้เพียงพอ
➢ ผ่อนคลายความเครียด
➢ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
➢ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
➢ ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
➢ หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

◎ การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ด้วย 3 อ & 2 ส
➥อาหาร : รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้ ที่รสไม่หวาน รับประทานอาหารรสชาติพอดี หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน เลือกปรุงอาการด้วย ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง
➥อารมณ์ : ลดความเครียด หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ พูดคุยพบปะเพื่อน อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ท่องเที่ยว
➥ออกกำลังกาย : เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่นการขึ้นลงบันได แทนการใช้ลิฟต์ การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 30นาที/วัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่นการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน
➥ส : ลดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการดื่มหรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่จะดื่ม
➥ส : งดสูบบุหรี่

◉ สิ่งสำคัญที่สุด ที่เราจะทำได้เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บก็คือ กินผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืชเพิ่มขึ้น ไม่เพียงอาหารเหล่านี้จะมีสารประกอบที่ส่งผลต่อการสร้าง และการสื่อสารระหว่างเซลล์ หากยังเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนติออกซิแดนท์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเรา โดยจะปรับโมเลกุลอันตรายที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ ให้สมดุล

เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรค เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรงที่ยั่งยืน

➥ โสม ราชาแห่งสมุนไพร

➥ เห็ดหลินจือ (LING ZHI)

➥ ถั่งเช่า CHONG CAO





View all ...